การปลูกกระชาย, ข่า
กระชายเป็นพืชล้มลุกมีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดินซึ่งมีลักษณะเรียวยาว อวบน้ำ ตรงกลางของเหง้าจะพองคล้ายกระสวยออกเกาะกลุ่มกันเป็นกระจุก จะมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแกมส้ม เนื้อข้างในเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมและมีน้ำมันหอมระเหย ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกันมีสีค่อนข้างแดง ลักษณะใบจะมีขนาดยาวเรียวรูปไข่ ปลายใบแหลมมีขนาดใหญ่สีเขียวอ่อน โคนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ออกดอกเป็นช่อที่ยอด ดอกสีขาวหรือขาวปนชมพู ผลของกระชายเป็นผลแห้ง
การปลูกกระชายให้ตุ้มและรากยาว
กระชายเป็นพืชที่มีตุ้มต่อจากหัว ส่วนหัวเป็นก้อนค่อนข้างกลมติดกับลำต้น เป็นก้อนไม่ใหญ่มากนัก ผู้ซื้อต้องการตุ้มหรือส่วนที่เป็นรากยาวๆ ถ้าส่วนตุ้มสั้นรากสั้นก็จะขายไม่ค่อยได้ราคา
สาเหตุที่ตุ้มหรือรากสั้นเกิดจาก2สาเหตุ
1.ดินใต้ต้นกระชายที่ปลูกแข็ง ตุ้มเจริญเติบโตไปในดินไม่ได้
2.ให้อาหารแก่กระชายไม่เพียงพอ
การแก้ปัญหาดินแข็งกระด้าง
การปลูกดินจะต้องร่วนซุยค่อนข้างลึก มีความร่วนซุยพอที่จะให้ตุ้มหรือรากแทงลงไปให้รากยาวตามต้องการ อย่างน้อยดินจะต้องร่วนซุยลึกประมาณ1คืบ ทางที่ดีต้องปลูกแบบยกร่องสูงประมาณ 50 เซ็นติเมตรไม่ควรน้อยกว่านี้ เพราะเมื่อฝนตกน้ำจะชะหน้าดินทำให้ร่องต่ำลงไปอีก หลังร่องควรเกลี่ยให้แบนไม่ควรเป็นสัน บริเวณใกล้ต้นจะได้มีปุ๋ยพอเลี้ยงลำต้นได้
โดยดินที่แข็งกระด้างเกิดขึ้นจากการปลูกพืชอย่างต่อเนื่องและใส่ปุ๋ยเคมี อย่างต่อเนื่องและมากเกินไป จนเกิดสภาวะรดน้ำไม่ลง จอบขุดไม่เข้า ซึ่งเหตุการณ์นี้กำลังเกิดบนผืนแผ่นดินไทย แล้วใครเล่าจะช่วยเกษตรกรไทย แต่วันนี้ เกษตรอินทรีย์? โดยเรา บริษัท MK การเกษตร จำกัด ได้คิดค้นและพัฒนาสร้างสรร จนเกิดผลิตภัณฑ์ การเปลี่ยนค่า PH ของดิน และเพื่มความ พรุนของดิน พร้อมทั้งให้ธาตุอาหารกับพืชในเวลาเดียวกัน
การให้อาหารพืชหรือการใส่ป๋ย
ควรเร่งให้งามไปต้งแต่เริ่มปลูก อย่าให้การเจริญเติบโตของกระชายชะงัก เพราะจะทำให้ตุ้มหรือรากกระชายแกร็น การที่กระชายมีการลำต้นเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ลำต้นจะอวบ โดยมีความจำเป็นอย่างมาก โดยก่อนปลูกควรปรับปรุงโครงสร้างของดิน ให้มีธาตุอาหารมากพอในช่วงการแทงหน่ออ่อน ซึ่งทำการหว่านแร่ THEONE ไร่ละประมาณ 50 -100 กิโลกรัม เพื่อจะเจริญเติบโตเป็นกระชายกอใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดต่อไป แต่การปลูกพืชทุกชนิดนั้น พืชแต่ละชนิดก็มีโรคประจำตัว อย่างเช่น กระชายก็มีโรค รากเน่า โคนเน่า เน่าเละ เน่าเหม็น ยุบเหี่ยว ดังนั้นก่อนปลูกควรทำการกำจัด บล็อก ป้องกันเชื้อรา ให้หมดไปหรือไม่ออกฤทธิ์ ทำลายต้นกล้ากระชาย เพราะเชื้อรากลุ่มนี้จะฝังตัวอยู่บริเวณรากและเหง้าของกระชาย โดยการใช้ ฟอสโฟ 10 cc. ผสมกับ ซิลิเกต 1 ช้อนชา ผสมกับ MK สตาร์ท 30 cc. ต่อน้ำ 15 ลิตร แล้วนำเหง้ากระชายแช่ ทิ้งไว้ประมาณ 15 -20 นาที เพื่อกำจัดและทำลายเชือที่ติดมากับเหง้ากระชาย
ลักษณะการปลูก
เลือกปลูกได้ 3 วิธี คือ ปลูกยกร่อง,ปลูกเป็นแปลง,ปลูกเป็นหลุม
การปลูกโดยยกร่อง ผิวดินจะน้อยกว่าการปลูกเป็นแปลง สารอาหารในดินจะสมบูรณ์ เนื่องจากไม่ถูกน้ำชะล้างปุ๋ย ส่วนการปลูกเป็นหลุมเหมาะสำหรับการปลูกที่มีพื้นที่จำกัด
การปลูกเป็นหลุม คือการปลูกเป็นแปลงขนาดย่อมนั่นเอง หลุมที่จะปลูกอย่างน้อยควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร โดยทำให้เป็นหลุมกลมๆ สะดวกแก่การปฎิบัติ หากมีที่จำกัด จะปลูกเป็นหลุมเล็กๆแซมในที่ว่างก็ได้ผล กระชายปลูกใต้ร่มไม้ยืนต้นได้ เพราะกระชายต้องการแสงแดดน้อย ปลูกได้งอกงามดี
สภาพดินที่ปลูก
ตามปกติผิวดินจะประกอบด้วยทรายหยาบและละเอียด ส่วนที่เป็นดินจะเป็นดินตะกอนที่น้ำพัดมาทับถมเป็นชั้นๆ ตะกอนนี้จะหนาบางไม่เท่ากัน ในแต่ละพื้นที่ตะกอนนี้มีทั้งตะกอนหยาบและละเอียด
กระชายจะงามหรือไม่งาม ขึ้นอยู่ที่ความหนาบางของดินตะกอน ดินตะกอนที่ต้องมีสีคล้ำๆ ดำๆ เพราะดินที่มีสีดำคล้ำคืออาหารพืชหากดินมีสีขาวซีด อาหารพืชจะน้อย จึงต้องนำปุ๋ยใส่บำรุงเพิ่มให้
การทดสอบว่าดินมีอาหารพืชหรือไม่ โดยนำดินใส่ภาชนะแล้วนำน้ำมาใส่คนให้น้ำขุ่น แล้วเทน้ำนั้นมาใส่ในภาชนะอีกใบ ทำเช่นนี้หลายๆ ครั้ง จนกว่าจะได้น้ำใสไม่มีดินตะกอนออกมาแล้วปล่อยให้น้ำนั้นตกตะกอน ตะกอนที่นอนก้นนั้นคือส่วนที่เป็นปุ๋ย เราจะทราบได้ว่า ดินที่เรานำมาทดสอบนั้นมีอาหารพืชมากน้อยเพียงใด การใส่ปุ๋ยลงไปเพิ่มในดินก็จะหาได้จากสูตรนี้
จากการทดสอบ การปลูกพืชในที่เดิมๆซ้ำกันหลายครั้งโดยไม่ใส่ปุ๋ย การนำดินมาล้างน้ำดูการตกตะกอนของดิน ปรากฎว่าสีของตะกอนดินจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาวลงเรื่อยๆ สีดำคล้ำจะค่อยๆหายไปจนหมด
ขั้นตอนการใช้
1. ต้องทำการบล็อคเชื้อก่อนลงมือปลูกด้วย Vee-1
2. การสั่งให้แตกแขนงแตกกอ โดยการใช้ พีรัน
3. เมื่อเกิดโรคเชื้อราใช้ ฟอสโฟ,ซิลิเกต,ชาร์ปเลท
4. การล้างดินใช้ คอร์สและซอยซายน์ ปรับค่า PH เพื่มความพรุนของดินพร้อมให้ธาตุอาหาร
5. เมื่อถึงการขยายหัว จะสั่งลงหัวโดย กู๊ดออเดอร์
ต้องการข้อมลู หรือปรึกษาการทำ เกษตร พืชผัก พืชสวน พืชไร่ นาข้าว กับเรา เอ็มเพชรบูรณ์ 081-046-0335,085-603-0090